2.1 ความหมายของซอฟต์แวร์ประยุกต์
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) คือซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้น เพื่อประยุกต์กับงานที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์จัดเก็บภาษี ซอฟต์แวร์สินค้าคงคลัง ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ซอฟต์แวร์กราฟิก ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล เป็นต้น การทำงานใดๆ โดยใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ จำเป็นต้องทำงานภายใต้สภาพแวดล้อมของซอฟต์แวร์ระบบด้วย ตัวอย่างเช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำต้องทำงานภายใต้ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเอ็มเอสดอสหรือวินโดวส์ เป็นต้น
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้รับความนิยมใช้งานอย่างแพร่หลายในทุกวงการ ความนิยมส่วนหนึ่งมาจาก ขีดความสามารถของซอฟต์แวร์ประยุกต์นั้นๆ เพราะซอฟต์แวร์ที่ผลิตออกจำหน่าย ต่างพยายามแข่งขันกันหลายๆ ด้าน เช่น เรียนรู้และใช้งานได้ง่าย สนับสนุนให้ใช้กับเครื่องพิมพ์ได้ดี มีคู่มือการใช้ซอฟต์แวร์ที่อ่านเข้าใจง่าย ให้วิธีหรือขั้นตอนที่อธิบายไว้อย่างชัดเจน และมีระบบโอนย้ายข้อมูลเข้าออกกับซอฟต์แวร์อื่นได้ง่าย


อาจแบ่งได้เป็น 2 แบบใหญ่ๆ คือ ซอฟต์แวร์ใช้เฉพาะทางและซอฟต์แวร์สำเร็จ
1. ซอฟต์แวร์ใช้เฉพาะทาง
1) ซอฟต์แวร์ระบบงานด้านบัญชี
ได้แก่ ระบบงานบัญชีเจ้าหนี้ บัญชีลูกหนี้ บัญชีสินทรัพย์ถาวรและค่าเสื่อมราคาสะสม บัญชีแยกประเภททั่วไป และบัญชีเงินเดือน
2) ซอฟต์แวร์ระบบงานจัดจำหน่าย
ได้แก่ ระบบงานรับใบสั่งซื้อสินค้า ระบบงานบริหารสินค้าคงคลัง และระบบงานประวัติการขาย
3) ซอฟต์แวร์ระบบงานในโรงงานอุตสาหกรรม
ได้แก่ ระบบงานกำหนดโครงสร้างผลิตภัณฑ์ การวางแผนกำลังการผลิต การคำนวณต้นทุนของงาน การประเมินผลงานของพนักงาน การวางแผนการผลิตหลัก การวางแผนความต้องการวัสดุ การควบคุมการทำงานภายในโรงงาน การกำหนดเงินทุนมาตรฐานสินค้า และการกำหนดขั้นตอนการผลิต
4) ซอฟต์แวร์อื่น ๆ
ได้แก่ ระบบการสร้างรายงาน การบริหารการเงิน การเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ และการเช่าซื้อรถยนต์
2. ซอฟต์แวร์สำเร็จ
ในบรรดาซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่มีใช้กันทั่วไป ซอฟต์แวร์สำเร็จ (package) เป็นซอฟต์แวร์ที่มีความนิยมใช้กันสูงมาก ซอฟต์แวร์สำเร็จเป็นซอฟต์แวร์ที่บริษัทพัฒนาขึ้น แล้วนำออกมาจำหน่าย เพื่อให้ผู้ใช้งานซื้อไปใช้ได้โดยตรง ไม่ต้องเสียเวลาในการพัฒนาซอฟต์แวร์อีก ซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป และเป็นที่นิยมของผู้ใช้มี 5 กลุ่มใหญ่ ได้แก่
1) ซอฟต์แวร์ประมวลคำ(word processing software)
เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้สำหรับการพิมพ์เอกสาร สามารถแก้ไข เพิ่ม แทรก ลบ และจัดรูปแบบเอกสารได้อย่างดี เอกสารที่พิมพ์ไว้จัดเป็นแฟ้มข้อมูล เรียกมาพิมพ์หรือแก้ไขใหม่ได้ การพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ก็มีรูปแบบตัวอักษรให้เลือกหลายรูปแบบ เอกสารจึงดูเรียบร้อยสวยงาม ปัจจุบันมีการเพิ่มขีดความสามารถของซอฟต์แวร์ประมวลคำอีกมากมาย ซอฟต์แวร์ประมวลคำที่นิยมอยู่ในปัจจุบัน เช่น วินส์เวิร์ด จุฬาจารึก โลตัสเอมิโปร
2)ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน (spread sheet software)
เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการคิดคำนวณ การทำงานของซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ใช้หลักการเสมือนมีโต๊ะทำงานที่มีกระดาษขนาดใหญ่วางไว้ มีเครื่องมือคล้ายปากกา ยางลบ และเครื่องคำนวณเตรียมไว้ให้เสร็จ บนกระดาษมีช่องให้ใส่ตัวเลข ข้อความหรือสูตร สามารถสั่งให้คำนวณตามสูตรหรือเงื่อนไขที่กำหนด ผู้ใช้ซอฟต์แวร์ตารางทำงานสามารถประยุกต์ใช้งานประมวลผลตัวเลขอื่น ๆ ได้กว้างขวาง ซอฟต์แวร์ตารางทำงานที่นิยมใช้ เช่น เอกเซล โลตัส
3)ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล (data base management software)
การใช้คอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งคือการใช้เก็บข้อมูล และจัดการกับข้อมูลที่จัดเก็บในคอมพิวเตอร์ จึงจำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์จัดการข้อมูล การรวบรวมข้อมูลหลาย ๆ เรื่องที่เกี่ยวข้องกันไว้ในคอมพิวเตอร์ เราก็เรียกว่าฐานข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการเก็บ การเรียกค้นมาใช้งาน การทำรายงาน การสรุปผลจากข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลที่นิยมใช้ เช่น เอกเซส ดีเบส พาราด็อก ฟ๊อกเบส
4)ซอฟต์แวร์นำเสนอ (presentation software)
เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับนำเสนอข้อมูล การแสดงผลต้องสามารถดึงดูดความสนใจ ซอฟต์แวร์เหล่านี้จึงเป็นซอฟต์แวร์ที่นอกจากสามารถแสดงข้อความในลักษณะที่จะสื่อความหมายได้ง่ายแล้วจะต้องสร้างแผนภูมิ กราฟ และรูปภาพได้ ตัวอย่างของซอฟต์แวร์นำเสนอ เช่น เพาเวอร์พอยต์ โลตัสฟรีแลนซ์ ฮาร์วาร์ดกราฟิก
5)ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูล (data communication software)
ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูลนี้หมายถึงซอฟต์แวร์ที่จะช่วยให้ไมโครคอมพิวเตอร์ติดต่อสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นในที่ห่างไกล โดยผ่านทางสายโทรศัพท์ ซอฟต์แวร์สื่อสารใช้เชื่อมโยงต่อเข้ากับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น อินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถใช้บริการอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ สามารถใช้รับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ใช้โอนย้ายแฟ้มข้อมูล ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูล อ่านข่าวสาร นอกจากนี้ยังใช้ในการเชื่อมเข้าหามินิคอมพิวเตอร์หรือเมนเฟรม เพื่อเรียกใช้งานจากเครื่องเหล่านั้นได้ ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูลที่นิยมมีมากมายหลายซอฟต์แวร์ เช่น โปรคอม ครอสทอล์ค เทลิก
แหล่งที่มาอ้างอิง:https://sites.google.com/site/5303103304peer/khwam-hmay-khxng-sxftwaer-prayukt
ซอฟต์แวร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์
หมายถึงโปรแกรมที่ทำหน้าที่ประสานการทำงาน ติดต่อการทำงาน ระหว่างฮาร์ดแวร์กับซอฟต์แวร์ประยุกต์เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้ Software ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำหน้าที่ในการจัดการ ระบบ ดูแลรักษาเครื่อง การแปลภาษาระดับต่ำหรือระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องเพื่อให้เครื่องอ่านได้ เข้าใจ
ซอฟต์แวร์ระบบ แบ่งได้ 4 ชนิด ดังนี้
เป็นโปรแกรมที่ได้รับการออกแบบและพัฒนาสำหรับนำไปใช้งานเฉพาะด้านหรือในสาขาใดสาขาหนึ่งตามความต้องการของผู้ใช้ โดยที่ผู้เขียน คือ โปรแกรมเมอร์ (Programmer) ที่มีความสามารถในการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ และต้องศึกษาทำความเข้าใจงานและรายละเอียดของการประยุกต์นั้นเป็นอย่างดี เช่น โปรแกรมช่วยจัดการด้านการเงิน โปรแกรมช่วยจัดการบริการลูกค้า ฯลฯ ตามปกติจะไม่ค่อยได้พบเห็นซอฟต์แวร์ประเภทนี้ในท้องตลาดทั่วไป แต่จะซื้อหาได้จากผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่ายในราคาค่อนข้างสูงกว่าซอฟต์แวร์ที่ใช้งานทั่วไป
โครงสร้างของซอฟต์แวร์เฉพาะทางมักจะประกอบด้วย ฐานข้อมูลเพื่อใช้เก็บข้อมูลลูกค้าและระบบหลักของงาน ภายในซอฟต์แวร์ควรจะมีส่วนทำงานประมวลคำเพื่อใช้สร้างรายงาน ติดต่อโต้ตอบจดหมาย และการนัดหมายตามกำหนดการ ลักษณะของซอฟต์แวร์เฉพาะทางนี้ มีทั้งรูปแบบที่มีผู้ใช้งานคนเดียวหรือผู้ใช้งานได้พร้อมกันหลายคน
ในประเทศไทย มีการใช้ซอฟต์แวร์ประเภทใช้เฉพาะทางอยู่บ้าง ส่วนใหญ่จะเป็นซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตต่างประเทศได้ออกแบบมาเพื่อรองรับงานด้านธุรกิจ ในที่นี้ได้รวบรวมจัดประเภทไว้ดังนี้
ได้แก่ ระบบงานบัญชีเจ้าหนี้ บัญชีลูกหนี้ บัญชีสินทรัพย์ถาวรและค่าเสื่อมราคาสะสม บัญชีแยกประเภททั่วไป และบัญชีเงินเดือน
2) ซอฟต์แวร์ระบบงานจัดจำหน่าย
ได้แก่ ระบบงานรับใบสั่งซื้อสินค้า ระบบงานบริหารสินค้าคงคลัง และระบบงานประวัติการขาย
3) ซอฟต์แวร์ระบบงานในโรงงานอุตสาหกรรม
ได้แก่ ระบบงานกำหนดโครงสร้างผลิตภัณฑ์ การวางแผนกำลังการผลิต การคำนวณต้นทุนของงาน การประเมินผลงานของพนักงาน การวางแผนการผลิตหลัก การวางแผนความต้องการวัสดุ การควบคุมการทำงานภายในโรงงาน การกำหนดเงินทุนมาตรฐานสินค้า และการกำหนดขั้นตอนการผลิต
4) ซอฟต์แวร์อื่น ๆ
ได้แก่ ระบบการสร้างรายงาน การบริหารการเงิน การเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ และการเช่าซื้อรถยนต์
2. ซอฟต์แวร์สำเร็จ
ในบรรดาซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่มีใช้กันทั่วไป ซอฟต์แวร์สำเร็จ (package) เป็นซอฟต์แวร์ที่มีความนิยมใช้กันสูงมาก ซอฟต์แวร์สำเร็จเป็นซอฟต์แวร์ที่บริษัทพัฒนาขึ้น แล้วนำออกมาจำหน่าย เพื่อให้ผู้ใช้งานซื้อไปใช้ได้โดยตรง ไม่ต้องเสียเวลาในการพัฒนาซอฟต์แวร์อีก ซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป และเป็นที่นิยมของผู้ใช้มี 5 กลุ่มใหญ่ ได้แก่
1) ซอฟต์แวร์ประมวลคำ(word processing software)
เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้สำหรับการพิมพ์เอกสาร สามารถแก้ไข เพิ่ม แทรก ลบ และจัดรูปแบบเอกสารได้อย่างดี เอกสารที่พิมพ์ไว้จัดเป็นแฟ้มข้อมูล เรียกมาพิมพ์หรือแก้ไขใหม่ได้ การพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ก็มีรูปแบบตัวอักษรให้เลือกหลายรูปแบบ เอกสารจึงดูเรียบร้อยสวยงาม ปัจจุบันมีการเพิ่มขีดความสามารถของซอฟต์แวร์ประมวลคำอีกมากมาย ซอฟต์แวร์ประมวลคำที่นิยมอยู่ในปัจจุบัน เช่น วินส์เวิร์ด จุฬาจารึก โลตัสเอมิโปร
2)ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน (spread sheet software)
เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการคิดคำนวณ การทำงานของซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ใช้หลักการเสมือนมีโต๊ะทำงานที่มีกระดาษขนาดใหญ่วางไว้ มีเครื่องมือคล้ายปากกา ยางลบ และเครื่องคำนวณเตรียมไว้ให้เสร็จ บนกระดาษมีช่องให้ใส่ตัวเลข ข้อความหรือสูตร สามารถสั่งให้คำนวณตามสูตรหรือเงื่อนไขที่กำหนด ผู้ใช้ซอฟต์แวร์ตารางทำงานสามารถประยุกต์ใช้งานประมวลผลตัวเลขอื่น ๆ ได้กว้างขวาง ซอฟต์แวร์ตารางทำงานที่นิยมใช้ เช่น เอกเซล โลตัส
3)ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล (data base management software)
การใช้คอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งคือการใช้เก็บข้อมูล และจัดการกับข้อมูลที่จัดเก็บในคอมพิวเตอร์ จึงจำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์จัดการข้อมูล การรวบรวมข้อมูลหลาย ๆ เรื่องที่เกี่ยวข้องกันไว้ในคอมพิวเตอร์ เราก็เรียกว่าฐานข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการเก็บ การเรียกค้นมาใช้งาน การทำรายงาน การสรุปผลจากข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลที่นิยมใช้ เช่น เอกเซส ดีเบส พาราด็อก ฟ๊อกเบส
4)ซอฟต์แวร์นำเสนอ (presentation software)
เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับนำเสนอข้อมูล การแสดงผลต้องสามารถดึงดูดความสนใจ ซอฟต์แวร์เหล่านี้จึงเป็นซอฟต์แวร์ที่นอกจากสามารถแสดงข้อความในลักษณะที่จะสื่อความหมายได้ง่ายแล้วจะต้องสร้างแผนภูมิ กราฟ และรูปภาพได้ ตัวอย่างของซอฟต์แวร์นำเสนอ เช่น เพาเวอร์พอยต์ โลตัสฟรีแลนซ์ ฮาร์วาร์ดกราฟิก
5)ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูล (data communication software)
ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูลนี้หมายถึงซอฟต์แวร์ที่จะช่วยให้ไมโครคอมพิวเตอร์ติดต่อสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นในที่ห่างไกล โดยผ่านทางสายโทรศัพท์ ซอฟต์แวร์สื่อสารใช้เชื่อมโยงต่อเข้ากับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น อินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถใช้บริการอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ สามารถใช้รับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ใช้โอนย้ายแฟ้มข้อมูล ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูล อ่านข่าวสาร นอกจากนี้ยังใช้ในการเชื่อมเข้าหามินิคอมพิวเตอร์หรือเมนเฟรม เพื่อเรียกใช้งานจากเครื่องเหล่านั้นได้ ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูลที่นิยมมีมากมายหลายซอฟต์แวร์ เช่น โปรคอม ครอสทอล์ค เทลิก
แหล่งที่มาอ้างอิง:https://sites.google.com/site/5303103304peer/khwam-hmay-khxng-sxftwaer-prayukt
2.2 ประเภทของซอฟต์แวร์
ประเภทของซอฟต์แวร์ 
ซอฟต์แวร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ซอฟต์แวร์ระบบ
2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์
ซอฟต์แวร์ระบบ แบ่งได้ 4 ชนิด ดังนี้
1.1 ระบบปฏิบัติการ (Operating System) หมายถึง ชุดโปรแกรมที่อยู่ระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์มีหน้าที่ควบคุมการ ปฏิบัติงานของฮาร์ดแวร์ และสนับสนุนคำสั่งสำหรับควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ให้กับซอฟต์แวร์ประยุกต์ เช่น Windows XP , DOS , Linux , Mac OS X
1.2 ยูทิลิตี้ (Utility Program) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่เพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้เครื่องทำงานง่ายขึ้นเร็วขึ้น และการป้องกันการรบกวนโดยโปรแกรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น โปรแกรมป้องกันไวรัส , โปรแกรม Defrag เพื่อจัดเรียงข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์ใหม่ ทำให้การอ่านข้อมูลเร็วขึ้น , โปรแกรมยกเลิกการติดตั้งโปรแกรม Uninstall Program , โปรแกรมบีบอัดไฟล์ (WinZip-WinRAR)เพื่อทำให้ไฟล์มีขนาดเล็กลง ,โปรแกรมการสำรองข้อมูล(Backup Data)
1.3 ดีไวซ์ไดเวอร์ (Device Driver หรือ Driver) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ติดต่อกับคอมพิวเตอร์ในส่วนการรับเข้าและการส่งออก ของแต่ละอุปกรณ์ โดยปกติโปรแกรม windows มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีไดเวอร์ติดตั้งมาให้แล้วโดยไม่ต้อง ทำการติดตั้งไดเวอร์เอง เช่น ไดเวอร์สำหรับเมาส์ ,ไดเวอร์คีย์บอร์ด, ไดเวอร์สำหรับการใช้ USB Port , ไดเวอร์เครื่องพิมพ์ แต่ถ้าอุปกรณ์ใดไม่สามารถใช้งานร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ก็ต้องหาไดเวอร์มาติดตั้งเพื่อให้สามารถใช้งานได้ ซึ่งต้องเป็นไดเวอร์ที่พัฒนามาของแต่ละบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์
1.4 ตัวแปลภาษา (Language Translator) คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่แปลภาษาระดับต่ำหรือระดับสูงเพื่อให้เครื่อง คอมพิวเตอร์เข้าใจว่าต้องการให้ทำอะไร เช่น เมื่อโปรแกรมเมอร์ได้เขียนโปรแกรมเสร็จโดยเขียนในลักษณะภาษาระดับต่ำ (Assenbly) หรือภาษาระดับสูง (โปรแกรมภาษา C) เสร็จก็ต้องมีตัวแปลภาษาเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์อ่านเข้าใจ เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์จะเข้าใจเฉพาะตัวเลข 0 กับ ตัวเลข 1 เท่านั้น
2.1 ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน เป็น Software ที่ใช้สำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น Software สำหรับงานธนาคารการฝากถอนเงิน Software สำหรับงานทะเบียนนักเรียน ซอฟต์แวร์คิดภาษี ซอฟต์แวร์การให้บริการร้าน Seven ฯลฯ
2.2 ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับงานทั่วไป โดยในซอฟต์แวร์ 1 ตัวมีความสามารถในการทำงานได้หลายอย่าง เช่น ซอฟต์แวร์งานด้านเอกสาร (Microsoft Word ) มีความสามารถในการสร้างงานเอกสารต่าง ๆ จัดทำเอกสารรายงาน จัดทำแผ่นพับ จัดทำหนังสือเวียน จัดทำสื่อสิ่งพิมพ์
2.3 วิธีการเลือกซอฟต์แวร์
การเลือกใช้ซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์มีหลายประเภทด้วยกัน ดังนั้นการเลือกใช้ซอฟต์แวร์จึงต้องพิจารณาให้เหมาะสม ข้อควรพิจารณาในการเลือกใช้ซอฟต์แวร์ เช่นหลักการเลือกใช้ซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับงาน
ซอฟต์แวร์ประเภทซอฟต์แวร์ประยุกเป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับคอมพิวเตอร์เพราะช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงาน โดยมีหลักการเลือกซอฟต์แวร์ดังนี้
1.ความสามารถในการทำงาน
เป็นหลักการในอันดับต้นที่ผู้ใช้ซอฟต์แวร์จะต้องเลือกเพื่อให้ซอฟต็แวร์ที่ติดตั้งนั้น สามารถตอบสนองต่อการทำงาน สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวก และเกิดประสิทธิ์ภาพในการทำงานมากที่สุด
เป็นหลักการในอันดับต้นที่ผู้ใช้ซอฟต์แวร์จะต้องเลือกเพื่อให้ซอฟต็แวร์ที่ติดตั้งนั้น สามารถตอบสนองต่อการทำงาน สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวก และเกิดประสิทธิ์ภาพในการทำงานมากที่สุด
2.การติดต่อกับผู้ใช้
รูปแบบของซอฟต์แวร์ต้องออกแบบมาเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายต่อการทำงาน เช่น เป็นรูปแบบไอคอน เพื่อง่ายต่อการทำงานมากขึ้น เป็นต้น
3.ความเข้ากันได้
ความเข้ากันได้ของซอฟต์แวร์สำเร็จรูป เป็นหลักการที่ต้องพิจารณาให้ละเอียดรอบคอบอย่างเหมาะสม เนื่องจากอาจทำให้เกิดการทำงานไม่เต็มที่ หรือส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ได้ มีข้อต้องคำนึง 2 ส่วนดังนี้
- ความเข้ากันได้ของฮาร์ดแวร์
ต้องคำนึงถึงความเป็นไปได้ในการใช้งานให้คู่กันไปของซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ คือ ต้องเข้ากันได้ ควรเลือกให้สัมพันะ์กันมากที่สุด เพื่อประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด
- ความเป็นกันได้ของซอฟต์แวร์
คำนึงถึงความเข้ากันได้ของระบบปฏิบัติการซอฟต์แวร์ ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ความเข้ากันได้ของรุ่นคอมพิวเตอร์ ตลอดจนความเข้ากันได้ของซอฟต์แวร์ด้วยกันเอง
ซอฟต์แวร์ทั่วไปจะต้องติดตั้งง่าย มีระบบการตรวจสอบการติดตั้ง ระบบช่วยเหลือ เพื่อความสะดวกในการใช้งานของผู้ใช้เองด้วย
5.กลุ่มผู้ใช้
หากมีผู้ใช้มากๆก็เป็นการรับรองคุณภาพได้ว่า ของเขาดีจริง จึงมีคนใช้มาก
การเลือกใช้ซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับทรัพยากร
การเลือกใช้ซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับทรัพยากรหรือฮาร์ดแวร์ที่มีอยู่ต้องพิจารราคุณลักษณะขั้นต่ำของคอมพิวเตอร์ที่จำเป็นต้องมีเพื่อให้สามารถประมวลผลซอฟต์แวร์นั้นได้ โดยคอมพิวเตอร์ที่จพติดตั้งซอฟต์แวร์จะต้องมีคุณลักษณะไม่ต่ำไปกว่าที่ผู้ผลิตซอฟต์แวร์กำหนดไว้ คุณลักษณะในการพิจารณา เช่น ความเร็วของซีพียู ความจุของแรม ความละเอียดของการ์ดแสดงผล
การเลือกใช้ซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับงบประมาณ
หากมีงบประมาณไม่เพียงพออาจเลือกใช้ซอฟต์แวร์ที่มีราคาต่ำกว่าหรือไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกัน เช่น กา้างอิงิรใช้วอฟต์แวร์แบบรพัสเปิดแทนซอฟต์แวร์ที่มีราคาแพง
หากมีงบประมาณไม่เพียงพออาจเลือกใช้ซอฟต์แวร์ที่มีราคาต่ำกว่าหรือไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกัน เช่น กา้างอิงิรใช้วอฟต์แวร์แบบรพัสเปิดแทนซอฟต์แวร์ที่มีราคาแพง
เพื่อเป็นการสนับสนุนให้มีผู้ผลิตซอฟต์แวร์ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ถ้าต้องใช้ซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ต้องจัดซื้อให้ถูกต้องตามกฎหมาย
ซอฟต์แวร์อาจสามารถหาซื้อได้จากร้านค้าที่ขายผลิตภัณฑ์เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์โดยมักจะอยู่ในรูปแบบของแผ่นซีดี หรือแผ่นดีวีดีที่บรรจุโปรแกรม หรืออาจดาวน์โหลดซอฟตืแวร์ที่ต้องการจากอินเทอร์เน็ตไม่ว่าจะได้ซอฟต์แวร์มาด้วยวิธีการก็ตาม ซอฟต์แวร์ดังกล่าวจะถูกติดตั้งลงในคอมพิวเตอร์เสียก่อน จึงสามารถเรียกใช้เพื่อให้ประมวลผลตามหน้าที่ของซอฟต์แวร์นั้นๆได้
2.4 ตัวอย่างซอฟต์แวร์ประยุกต์ช่วยในการทำงานด้านธุรกิจ
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software) คือ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมซึ่งเขียนขึ้นเพื่อการทางานเฉพาะอย่างที่เราต้องการ การทำงานร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ในงานเฉพาะด้าน ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการควบคุมระบบ ผู้ใช้จำเป็นต้องเลือกหาซอฟต์แวร์ให้ตรงตามความต้องการ นั้นๆ โดยเฉพาะ เช่น การจัดพิมพ์รายงาน นำเสนองาน จัดทำบัญชี ตกแต่งภาพ ออกแบบเว็บไซต์ เป็นต้น นอกจากนั้นอาจต้องคำนึงถึงงบประมาณในการจัดหาซอฟต์แวร์มาใช้ด้วยว่ามีเพียงพอ หรือไม่เพียงใด ซึ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ทั่วไป และซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป (general purpose software) เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับงานทั่วไป ไม่เฉพาะเจาะจง ผู้ใช้จึงต้องเลือกซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับ ลักษณะงาน เช่น การจัดพิมพ์รายงาน การสร้างตารางทำงาน การนำเสนอผลงาน เป็นต้น
1) ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ (word processing software)เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ ในการจัดทาเอกสารทุกชนิด เช่น รายงาน จดหมายเวียน หนังสือ ใบปลิวส่งพิมพ์ต่างๆ เป็นต้น สามารถแก้ไข เพิ่ม แทรก ลบ และจัดรูปแบบเอกสารได้อย่างดี เอกสารที่พิมพ์ไว้จัดเก็บ เป็นแฟ้มข้อมูล และสามารถนำมาแก้ไขใหม่ได้ ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำที่นิยมใช้ในปัจจุบัน เช่น Microsoft Word, PageMaker, Corel Draw เป็นต้น
2) ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน (spreadsheet software)เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการ คำนวณ วิเคราะห์ตัวเลข เพื่อใช้งานในด้านการเงิน บัญชี สถิติ คณิตศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์ การทำงานของซอฟต์แวร์ตารางทำงานประกอบด้วยตารางขนาดใหญ่สำหรับใส่ตัวเลข ข้อความ สูตรการคำนวณ ซึ่งมีเครื่องคำนวณเตรียมไว้สำเร็จ สามารถสั่งให้คำนวณตามสูตรหรือเงื่อนไขที่ กำหนด ผู้ใช้สามารถประยุกต์ใช้งานประมวลผลตัวเลขอื่นๆ ได้กว้างขวาง ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ที่นิยมใช้ เช่น Microsoft Excel, Open Office Calcในโปรแกรมชุด Pladao Office เป็นต้น
3) ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล (database management software) การใช้ งานคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่ง คือ การใช้เก็บ ข้อมูลและจัดการกับข้อมูลที่จัดเก็บอยู่ในเครื่อง คอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลต่างๆ เหล่านั้น เรียกว่า ฐานข้อมูล ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์ จัดการฐานข้อมูล เพื่อช่วยในการจัดเก็บเรียก ค้นทำงาน และสรุปผลข้อมูลในเครื่อง คอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลที่นิยมใช้ เช่น Dbase, Paradox, FoxBASE, MicrosoftAccess เป็นต้น
4) ซอฟต์แวร์นำเสนอ (presentation software) เป็นโปรแกรมที่ใช้นำเสนอ ข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ สร้างเอกสารที่ประกอบไปด้วยตัวอักษรรูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว โดยแสดงออกมาทีละรายการ รวมทั้งยังสามารถใส่เสียงประกอบการนำเสนอได้ สามารถกำหนด ระยะเวลาการแสดงและกำหนดจุดเชื่อมโยงไปยังหน้าที่ต้องการได้ เพื่อใช้ประกอบการบรรยายและการเสนอผลงาน ซอฟต์แวร์นำเสนอที่นิยมใช้ เช่น Microsoft PowerPoint Open Office Impress,Pladao Office เป็นต้น
5) ซอฟต์แวร์ทางด้านกราฟฟิกและมัลติมีเดีย (graphics and multimedia software) เป็นกลุ่มซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่พัฒนาข้นสำหรับจัดการงานทางด้านกราฟิกและมัลติมีเดียมีความสามารถเสมือนเป็นผู้ช่วยในการออกแบบชิ้นงานเกี่ยวกับการตกแต่งภาพ วาดภาพปรับเสียง ตัดต่อภาพเคลื่อนไหว รวมถึงการสร้างและออกแบบพัฒนาเว็บไซต์ ซอฟต์แวร์ทาง ด้านกราฟิกและมัลติมีเดีย เช่น Adobe InDesign, Adobe Illustrator, Adobe Photoshop Macromedia Dreamweaver เป็นต้น
6) ซอฟต์แวร์การใช้งานบนเว็บไซต์และการติดต่อสื่อสาร (web site and communications software) การเติบโตของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทำให้มีผู้พัฒนาโปรแกรมเพื่อใช้งานเฉพาะอย่างเพิ่มมากขึ้น มีทั้งการตรวจเช็คอีเมล์ เข้าเว็บไซต์การจัดการและดูแลเว็บไซต์ส่งข้อความติดต่อส่อสาร รวมไปถึงการประชุมทางไกลผ่านเครือข่าย ตัวอย่างซอฟต์แวร์การใช้งานบนเว็บไซต์ และการติดต่อสื่อ1สาร เช่น Microsoft Outlook, Microsoft Net meeting, MSN Messenger/Windows Messenger เป็นต้น
แหล่งที่มาอ้างอิง : http://tuktun.wixsite.com/arirat-noopan/about3







ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น